แชร์

ฉลากเครื่องสำอาง เรื่องที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้!!

อัพเดทล่าสุด: 27 มี.ค. 2025
40 ผู้เข้าชม

การสร้างแบรนด์เครื่องสำอางที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่เรื่องของคุณภาพสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการติดฉลากเครื่องสำอาง ที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย หากคุณเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง การเข้าใจข้อกำหนดเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ของคุณปลอดภัยและได้มาตรฐาน ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับฉลากเครื่องสำอางแต่ละประเภทที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย. เพื่อให้คุณสามารถออกแบบฉลากให้สอดคล้องและถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างมั่นใจ

ข้อมูลที่จะต้องมีบนฉลากเครื่องสำอาง

1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น และไม่สื่อสรรพคุณเกินจริง เพื่อใช้ชื่อแบรนด์เครื่องสำอางของคุณโดดเด่น มองเห็นชัดเจน

2. ประเภทหรือชนิดเครื่องสำอาง เช่น เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง เครื่องสำอางสำหรับแต่งปาก  เครื่องสำอางสำหรับผม เครื่องสำอางสำหรับเล็บ  เป็นต้น

3. ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม ซึ่งจะต้องเป็นชื่อตามตำราที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด และจะต้องเรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย

4. วิธีใช้ ควรบอกข้อมูลการใช้เครื่องสำอาง เช่น ตัวอย่างครีมกันแดด ควรระบุว่าใช้บริเวณใด ปริมาณการใช้แต่ละครั้ง ช่วงเวลาใด เป็นต้น

5. คำเตือน/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคล (ถ้ามี)

6. ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต กรณีเป็นที่เป็นเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิตกรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า

7. เลขที่แสดง ครั้งที่ผลิต วันผลิต วันเดือนปีหมดอายุ เพื่อบอกจำนวนการผลิตในปีนั้นๆ และเพื่อให้ลูกค้าทราบระยะเวลาของการผลิตเครื่องสำอางชนิดนั้นๆ เพื่อคำนวณอายุการใช้งานของเครื่องสำอางประเภทต่างๆ กรณีเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน เช่น สบู่ มีอายุการใช้งาน 1-2 ปี โลชั่นบำรุงผิว มีอายุการใช้งาน 1 ปี เป็นต้น

8. ปริมาณสุทธิ เพื่อบอกปริมาณของตัวสินค้า โดยเครื่องสำอางจะใช้หน่วยวัดปริมาณเป็น กรัม เช่น โลชั่น 1 หลอด ปริมาณสุทธิ 250 กรัม หรือ เซรั่ม 1 ขวด ปริมาณสุทธิ 15 มล. เป็นต้น

9. เลขที่ใบรับแจ้ง เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้มาแจ้งรายละเอียดตามข้อกำหนดการผลิต เพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางควบคุมแล้ว

10. ข้อความจำเป็นอื่นๆ (ถ้ามี) กรณีภาชนะบรรจุเครื่องสำอางมีขนาดพื้นที่น้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตรอย่างน้อย ต้องแสดงข้อความ ดังนี้ ชื่อเครื่องสำอาง และชื่อทางการค้า เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต และเลขที่ใบรับแจ้ง ส่วนข้อความอื่นๆ ให้แสดงในใบแทรก








การเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดของฉลากเครื่องสำอางไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันปัญหาทางกฎหมาย แต่ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณอีกด้วย หากคุณกำลังมองหาบริการรับผลิตสกินแคร์และเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน พร้อมบริการยื่นขอเลขจดแจ้ง อย. อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราพร้อมให้บริการคุณทุกขั้นตอน เพื่อให้คุณสามารถมุ่งมั่นพัฒนาแบรนด์ของคุณได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย ติดต่อเราเพื่อเริ่มต้นความสำเร็จของแบรนด์คุณได้เลยวันนี้!

♥ Start Your Brand Start With Amabelle ~
Line Official : @amabelle
Tiktok Official : @amb_amabelle
Facebook : Amabelle รับผลิตเครื่องสำอาง รับสร้างแบรนด์ครบวงจร


บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากมีแบรนด์ สกินแคร์ เครื่องสำอางเป็นของตัวเอง เริ่มจากตรงไหนดี?
การสร้างแบรนด์สกินแคร์และเครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลงทุนที่มีความน่าสนใจ สำหรับใครที่กำลังมีความคิดที่อยากสร้างแบรนด์เครื่องสำอางหรือสกินแคร์เป็นของตัวเอง ลองเรามาดูคำแนะนำจากเราได้นะคะ
มาตรฐาน GHPs คืออะไร ?
อยากรู้ไหมว่าทำไมมาตรฐาน GHPs & HACCP ถึงสำคัญต่อการผลิตอาหารและเครื่องสำอาง? มารู้จักกับมาตรฐานจาก GHPs & HACCP กันเถอะ
ผิวแบบนี้ เลือกมอยเจอร์ไรเซอร์แบบไหนดี?
มอยส์เจอร์ไรเซอร์เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ทุกคนต้องมี แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าควรเลือกมอยส์เจอร์ไรเซอร์ประเภทไหนให้เหมาะกับผิวของตัวเอง?
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy